พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน
พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน จะเป็นพืชที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกับพืชที่ขึ้นอยู่ในระบบนิเวศบนบก
ก็คือ
จะเป็นพืชที่มีความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้สามารถทนต่อความเค็มของน้ำทะเลได้
มีรากอากาศและระบบรากที่ทำให้สามารถได้ออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตในดินที่มีน้ำขังตลอดเวลาได้
ดินในสภาพดังกล่าวจะมีออกซิเจนน้อย นอกจากนี้พืชหลายชนิดยังมีความสามารถในการขับเกลือจากน้ำทะเลออกจากต้นได้
ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่เค็มและมีน้ำทะเลท่วมถึง ตัวอย่างพืช เช่น
โกงกางใบเล็กซึ่งเป็นพืชที่พบมากที่สุด โกงกางใบใหญ่
ใบมีคิวติเคิลหนา มีปากใบระดับต่ำ มี palisade parenchyma หลายชั้น
และมีเซลล์ที่รับน้ำหรือสารเมือกก็เป็นการปรับตัวในลักษณะเดียวกันที่พบในพืชทนแล้งเพื่อเก็บรักษาน้ำนอกจากนั้นการมีเซลล์เก็บน้ำอยู่ระหว่างเซลล์ epidermis และ palisade นั้นความเห็นว่าเป็นการช่วยป้องกันความร้อนและรังสี infra-red ส่วนแทนนินที่พบใน ชั้นนอกของไม้โกงกางและไม้ถั่วอาจช่วยป้องกันความร้อนและรังสีอุลตราไวโอเลตด้วยอย่างไรก็ตามบทบาทของแทนนินที่พบในส่วนต่างๆ ของพืชยังไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจนนัก
โดยมีทั้งผู้ที่คิดว่าอาจช่วยในการป้องกันเชื้อราเข้าทำลาย หรืออาจช่วยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเกลือที่มีมากเกินไป ต่อมเกลือที่พบในใบแสมช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืชและช่วยขับเกลือออกจากส่วนของใบ และการที่ผลึกเกลือที่พบทางด้านบนมีลักษณะจมลงไปนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากใบนี้ไม่มีขนที่ผิวใบ ในขณะที่ต่อมที่อยู่ทางด้านล่างชู
ขึ้นมา เพราะมีขนจำนวนมากช่วยป้องกันไว้ นอกจากนี้การที่ผิวของใบด้านล่างมีขนยังทำให้ปากใบ ซึ่งควรจะจม ลึกกลับชูสูงขึ้นมา เป็น(Macnae1968)
stomata , เนื่องจากขนสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ ช่วยเก็บความชื่นบริเวณนั้นไว้ เป็นการลดการคายน้ำเช่นเดียวกับที่พบในใบหงอนไก่ทะเล (ป่าชายเลน. ikipedia.org/wiki/. ๒๕๕๖)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น