วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต

กุ้งเคย (Acetes)
        ครัสเตเชียนขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงคลานตามพื้นอย่างกุ้งทั่วไป ขนาดยาวประมาณ 1.5เซนติเมตร เปลือกบางและนิ่มอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน
กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon)
       กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำเงินอมม่วงเข้มและมีลายขวางเป็นปล้องอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลริมชายฝั่งและป่าชายเลนปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis)
       กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ เปลือกหุ้มตัวมีสีเหลืองนวลบนกรีมีฟัน 5-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-5 ซี่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน

แม่หอบ (Thallassina anomula)
       แม่หอบเป็นครัสเตเชี่ยนลักษณะคล้ายคลึงกับกุ้งแต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน ลำตัวเรียวยาวขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้องแม่หอบขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนโดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้นพบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้

กั้งตั๊กแตน (Oratosguilla nepa)
กั้งตั๊กแตนขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างแบน ด้านบนมีสันเรียงตัวตามความยาว 8 เส้น ส่วนท้องปล้องที่2 และ 5 มีแถบคาดสีดำตามขวางตัวเมียที่ผ่านการผสมแล้วจะปล่อยไข่ออกมาอุ้งไว้จนกว่าจะฟักเป็นตัวอ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น