วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชายเลน


              จากการศึกษาข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบระบบนิเวศป่าชายเลนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มีหลักฐานทางวิชาการที่ชี้ให้เห็นว่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะสามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับดินตะกอน ในป่าชายเลนต่ำ และการอพยพของป่าชายเลนเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่ เกิดขึ้นได้ยาก ทำให้ป่าชายเลนบริเวณที่อยู่ติดริมทะเลค่อยๆ ถูกทำลายโดยกระแสคลื่นลม รวมถึงการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวค่อย ๆ ถูกทำลาย อย่างไรก็ตามป่าชายเลนอาจสามารถปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยการเคลื่อนที่จากชายฝั่งรุกเข้าไปยังแผ่นดิน เนื่องจากในป่าชายเลนมีกระบวนการสะสมตะกอนซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในป่าชายเลน เช่น ใบไม้ที่ร่วงหล่น ซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าชายเลน เป็นต้น และการดักตะกอนที่ล่องลอยมาตามกระแสน้ำ ตะกอนที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ระดับพื้นที่ป่าชายเลนสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในป่าชายเลนฝั่งตะวันตกของประเทศจาไมกา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับตะกอนสูงถึง 3.8 มิลลิเมตรต่อปี
ศักยภาพการปรับตัวของป่าชายเลนนั้นมีปัจจัยทั้งทางกายภาพและชีวภาพเป็นตัวกำหนด โดยปัจจัยที่ทำให้ศักยภาพการปรับตัวของป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณตะกอนในแม่น้ำและอัตราการตกตะกอนในป่าชายเลนมีค่าสูง ป่าชายเลนที่มีความหนาแน่นหรือมีความสมบูรณ์ พื้นที่บริเวณต่อจากป่าชายเลนมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาไปเป็นป่าชายเลน และไม่มีสิ่งปลูกสร้างที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของป่าชายเลน เช่น ถนน กำแพง ชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น และพื้นที่ดังกล่าวต้องไม่มีความชันมากเกินไป รวมถึงไม่มีการบุกรุกป่าชายเลนหรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ (ณิฏฐารัตน์. ๒๕๕๖   หน้าที่  ๑๑๑)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น