วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557





            ปูก้ามดาบตัวเมีย                                                                                             แมงดาทะเล




ภาคผนวก
                  

                  ปลาตีน                                                                    ปลากระจัง   

    
                  





                                                                                                    
  

                  ปูเปรี้ยว                                                                                           ปูก้ามดาบตัวผู้


บรรณานุกรม

(ณิฏฐารัตน์. ๒๕๕๖ หน้าที่  ๑๑๑)
(ป่าชายเลน.   ikipedia.org/wiki/.  ๒๕๕๖)
(สัตว์ในระบบนิเวศชายเลนwww..../mangrove_animal.html)
( Clailen . ๒๕๕๖ : Online )
(แนวทางแก้ไขปัญหาป่าชายเลนถูกทำลาย talaythai ๒๕๕๖ Online)           
บทสรุป
        
           การศึกษาครั้งนี้ได้รู้ถึงวิธีแก้ไขและแก้ปัญหาของระบบนิเวศป่าชายเลนและยังได้ศึกษาถึงสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์   ป่าชายเลนเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแหล่งหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น และก็ยังรวมถึงการเป็นอยู่ของผู้คนในเขตป่าชายเลนเพราะได้ทำการประมงในเขตนั้น  ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงต้องช่วยกันรักษาสัตว์และพืชพันธุ์ในระบบนิเวศป่าชายเลน
         ผลกระทบจากระบบนิเวศป่าชายเลนโดยตรง  และผลกระทบด้านกายภาพและเคมีภาพได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม การขึ้นลงของน้ำทะเล ปริมาณน้ำจืด การเกิดพายุ              การตกตะกอนและน้ำขุ่นข้น ปริมาณสารมลพิษในน้ำและการพังทลายของดิน และผลกระทบต่อความสมดุลต่อระบบนิเวศ ได้แก่ การสืบพันธุ์ การเจริญเติบและการเปลี่ยนแปลงทำลายที่อยู่ การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร (food chain) ในระบบนิเวศป่าชายเลน รวมทั้งระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและใกล้เคียงและผลกระทบ   จากภาวะโลกร้อน(ณิฏฐารัตน์. ๒๕๕๖   หน้าที่  ๑๑๑)
       การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยการสงวนรักษาไว้ และใช้ประโยชนจากผลผลิตป่าชายเลนในระยะยาว รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนขึ้นใหม่ ควบคุมและลดจำนวนกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์ป่าชายเลน โดยไม่ถูกหลักการอนุรักษ์และนำไปสู่การทำลายทรัพยากรป่าชายเลนและจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น(แนวทางแก้ไขปัญหาป่าชายเลนถูกทำลาย talaythai ๒๕๕๖ Online)

การแก้ไขปัญหาป่าชายเลนถูกทำลาย 
         

              ประชาชนทุกระดับควรให้ความสำคัญทรัพยากรป่าชายเลนให้มาก       โดยเห็นคุณค่าของ ป่าชายเลนที่ยากต่อการประเมินเป็นตัวเงิน หรือคุณค่าทางเศรษฐกิจ    จะอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ทางด้านประมงชายฝั่ง ป้องกันชายฝั่ง รักษาความสมดุลชายฝั่ง และเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ และต้องผสมผสานแผนการจัดการ และการอนุรักษ์ป่าชายเลนของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งส่วนกลาง จังหวัด เอกชน และรวมไปถึงประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการประสานงานและดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและมีการใช้กฎหมายบังคับอย่างจริงจังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และมีการประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาต่อบุคคลทุกระดับอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนที่ถูกต้อง เป็นผลให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ป่าชายเลนอย่างเหมาะสม และมิให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศป่าชายเลน และระบบนิเวศป่าชายฝั่งในระยะยาวต่อไป  (แนวทางการแก้ไขปัญหาป่าชายเลนถูกทำลายwww.talaythai.๒๕๕๖ Online)

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชายเลน


              จากการศึกษาข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบระบบนิเวศป่าชายเลนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มีหลักฐานทางวิชาการที่ชี้ให้เห็นว่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะสามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับดินตะกอน ในป่าชายเลนต่ำ และการอพยพของป่าชายเลนเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่ เกิดขึ้นได้ยาก ทำให้ป่าชายเลนบริเวณที่อยู่ติดริมทะเลค่อยๆ ถูกทำลายโดยกระแสคลื่นลม รวมถึงการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวค่อย ๆ ถูกทำลาย อย่างไรก็ตามป่าชายเลนอาจสามารถปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยการเคลื่อนที่จากชายฝั่งรุกเข้าไปยังแผ่นดิน เนื่องจากในป่าชายเลนมีกระบวนการสะสมตะกอนซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในป่าชายเลน เช่น ใบไม้ที่ร่วงหล่น ซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าชายเลน เป็นต้น และการดักตะกอนที่ล่องลอยมาตามกระแสน้ำ ตะกอนที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ระดับพื้นที่ป่าชายเลนสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในป่าชายเลนฝั่งตะวันตกของประเทศจาไมกา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับตะกอนสูงถึง 3.8 มิลลิเมตรต่อปี
ศักยภาพการปรับตัวของป่าชายเลนนั้นมีปัจจัยทั้งทางกายภาพและชีวภาพเป็นตัวกำหนด โดยปัจจัยที่ทำให้ศักยภาพการปรับตัวของป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณตะกอนในแม่น้ำและอัตราการตกตะกอนในป่าชายเลนมีค่าสูง ป่าชายเลนที่มีความหนาแน่นหรือมีความสมบูรณ์ พื้นที่บริเวณต่อจากป่าชายเลนมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาไปเป็นป่าชายเลน และไม่มีสิ่งปลูกสร้างที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของป่าชายเลน เช่น ถนน กำแพง ชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น และพื้นที่ดังกล่าวต้องไม่มีความชันมากเกินไป รวมถึงไม่มีการบุกรุกป่าชายเลนหรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ (ณิฏฐารัตน์. ๒๕๕๖   หน้าที่  ๑๑๑)

พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน
     
              พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน จะเป็นพืชที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกับพืชที่ขึ้นอยู่ในระบบนิเวศบนบก ก็คือ จะเป็นพืชที่มีความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้สามารถทนต่อความเค็มของน้ำทะเลได้ มีรากอากาศและระบบรากที่ทำให้สามารถได้ออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตในดินที่มีน้ำขังตลอดเวลาได้ ดินในสภาพดังกล่าวจะมีออกซิเจนน้อย นอกจากนี้พืชหลายชนิดยังมีความสามารถในการขับเกลือจากน้ำทะเลออกจากต้นได้ ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่เค็มและมีน้ำทะเลท่วมถึง ตัวอย่างพืช เช่น โกงกางใบเล็กซึ่งเป็นพืชที่พบมากที่สุด  โกงกางใบใหญ่

ใบมีคิวติเคิลหนา มีปากใบระดับต่ำ มี palisade parenchyma หลายชั้น และมีเซลล์ที่รับน้ำหรือสารเมือกก็เป็นการปรับตัวในลักษณะเดียวกันที่พบในพืชทนแล้งเพื่อเก็บรักษาน้ำนอกจากนั้นการมีเซลล์เก็บน้ำอยู่ระหว่างเซลล์ epidermis และ palisade นั้นความเห็นว่าเป็นการช่วยป้องกันความร้อนและรังสี infra-red ส่วนแทนนินที่พบใน  ชั้นนอกของไม้โกงกางและไม้ถั่วอาจช่วยป้องกันความร้อนและรังสีอุลตราไวโอเลตด้วยอย่างไรก็ตามบทบาทของแทนนินที่พบในส่วนต่างๆ  ของพืชยังไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจนนัก โดยมีทั้งผู้ที่คิดว่าอาจช่วยในการป้องกันเชื้อราเข้าทำลาย  หรืออาจช่วยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเกลือที่มีมากเกินไป  ต่อมเกลือที่พบในใบแสมช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืชและช่วยขับเกลือออกจากส่วนของใบ  และการที่ผลึกเกลือที่พบทางด้านบนมีลักษณะจมลงไปนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายได้  เนื่องจากใบนี้ไม่มีขนที่ผิวใบ  ในขณะที่ต่อมที่อยู่ทางด้านล่างชู ขึ้นมา  เพราะมีขนจำนวนมากช่วยป้องกันไว้  นอกจากนี้การที่ผิวของใบด้านล่างมีขนยังทำให้ปากใบ  ซึ่งควรจะจม ลึกกลับชูสูงขึ้นมา  เป็น(Macnae1968) stomata  , เนื่องจากขนสามารถอุ้มน้ำไว้ได้  ช่วยเก็บความชื่นบริเวณนั้นไว้  เป็นการลดการคายน้ำเช่นเดียวกับที่พบในใบหงอนไก่ทะเล (ป่าชายเลน.   ikipedia.org/wiki/.  ๒๕๕๖)  

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต


นกแขวก (Nycticorax nycticorax)
     นกในวงศ์นกยางที่ขนบริเวณหลังสีเขียวบริเวณปีกสีเทา ตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยมีขนสีน้ำตาลแต้มด้วยลายขีดสีขาวนกแขวกอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนหรือหนองบึง มักออกหากินในเวลากลางคืน ทำรังด้วยกิ่งไม้แห้งสานกันอย่างหยาบๆ
ลิงแสม (Macaca irus)

        ลิงแสมมีชื่อเรียกตามพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนคือ ต้นแสม เพราะตามธรรมชาติของลิงชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามป่าแสม-ป่าโกงกางขนลำตัวมีสีน้ำตาล หางยาว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เวลาน้ำทะเลลดลงลิงเหล่านี้จะลงมาจับปูตามพื้นป่าเป็นอาหารปัจจุบันเผ่าพันธุ์ของลิงแสมได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ตามแหล่งท่องเที่ยวเพราะได้รับอาหารโดยไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้ตามธรรมชาติ (สัตว์ในระบบนิเวศชายเลนwww..../mangrove_animal.html)

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต

แมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda)
        สัตว์มีขาเป็นข้อปล้องที่อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนหัวเชื่อมรวมกับอกเป็นรูปเกือกม้า ส่วนท้องมีหนามบริเวณขอบข้างละ 6 คู่หางค่อนข้างกลมและไม่มีหนามอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน วางไข่ตามริมตลิ่งบริเวณป่าชายเลนแมงดาชนิดนี้บางตัวอาจะเป็นพิษจึงควรระมัดระวังในการรับประทานไข่แมงดาหางกลมโดยเฉพาะช่วงเดือน ธันวาคม-มีนาคม
หอยขี้นก (Cerithidea)
        หอยกาบเดี่ยวขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เปลือกเวียนเป็นเกลียวรูปเจดีย์ พบเกาะอยู่ตามรากต้นโกงกางหรือคลานอยู่ตามพื้นป่าเมื่อหอยเหล่านี้ตายลงเปลือกจะเป็นที่อยู่อาศัยของลูกปูเสฉวนขนาดเล็ก
ปลาตีน (Boleophthalmus)
        ปลาที่ปรับตัวทางโครงสร้างและสรีระหลายอย่างจนสามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานานปลาหลายชนิดและขนาดแตกต่างกันหัวขนาดใหญ่ ตาโตลำตัวเรียวเล็กลงไปทางหาง ครีบอกแผ่ขยายใหญ่ใช้คลานขณะอยู่บนบกได้ดี ปลาตีนกินกุ้ง ปูและหนอนตามหาดโคลนเป็นอาหาร
ปลากะพงตาแมว (Lutianus)
        ลำตัวค่อนข้างสั้น ตาอยู่ค่อนไปทางหัวขนาดยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เกล็ดข้างตัวมีสีน้ำตาลอมเทา เส้นข้างลำตัวปรากฏเด่นชัดหากินอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน
ปลากะรังปากแม่น้ำ (Epinephelus tauvina)
         ปลากะรังหรือปลาเก๋าขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 80 เซนติเมตร ปากกว้าง สามารถฮุบกินเหยื่อเข้าไปทั้งตัวซึ่งได้แก่ปลาขนาดเล็กกว่า พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำหรือตามลำคลองของป่าชายเลน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นเดียวกับปลากะพงขาว
ปลาจรวด (Johnius)
       ปลาขนาดยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ลำตัวแบนทางด้านข้าง เกล็ดมีสีเทาอมดำซึ่งแตกต่างจากปลาจรวดชนิดอื่นโดยทั่วไปซึ่งมักมีสีเงินอมเหลือง พบอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน โดยหากินใกล้พื้นทะเล

นกยาง (Egretta)

       นกยางเป็นนกที่มีขายาว ปากยาวขนลำตัวส่วนใหญ่สีขาว มีอยู่หลายชนิด ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ นกยางเปีย นกยางทะเล นกยางโทนนกเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนหรือบึง ใกล้แหล่งน้ำ กินกุ้ง ปู หอย ปลาเป็นอาหาร ทำรังอยู่บนต้นไม้ ด้วยกิ่งไม้แห้ง

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต

กุ้งเคย (Acetes)
        ครัสเตเชียนขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงคลานตามพื้นอย่างกุ้งทั่วไป ขนาดยาวประมาณ 1.5เซนติเมตร เปลือกบางและนิ่มอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน
กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon)
       กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำเงินอมม่วงเข้มและมีลายขวางเป็นปล้องอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลริมชายฝั่งและป่าชายเลนปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis)
       กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ เปลือกหุ้มตัวมีสีเหลืองนวลบนกรีมีฟัน 5-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-5 ซี่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน

แม่หอบ (Thallassina anomula)
       แม่หอบเป็นครัสเตเชี่ยนลักษณะคล้ายคลึงกับกุ้งแต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน ลำตัวเรียวยาวขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้องแม่หอบขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนโดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้นพบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้

กั้งตั๊กแตน (Oratosguilla nepa)
กั้งตั๊กแตนขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างแบน ด้านบนมีสันเรียงตัวตามความยาว 8 เส้น ส่วนท้องปล้องที่2 และ 5 มีแถบคาดสีดำตามขวางตัวเมียที่ผ่านการผสมแล้วจะปล่อยไข่ออกมาอุ้งไว้จนกว่าจะฟักเป็นตัวอ่อน

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต
หนอนริบบิ้น (Ribbon worm)
          ลำตัวแบนเรียวยาวคล้ายคลึงกับหนอนตัวแบน ร่างกายไม่มีปล้อง มีท่อทางเดินอาหารครบจากปากสู่ทวารหนักและมีงวงที่ยืดหดได้ทางด้านหน้า ลำตัวสีแดงเพราะมีระบบหมุนเวียนโลหิตฝังตัวอาศัยอยู่ในดินโคลนบริเวณป่าชายเลน
แม่เพรียง (Polychaete Worm)
      หนอนปล้องที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนมีระยางค์เป็นคู่ช่วยในการวายน้ำ ในช่วงฤดูหนาวที่น้ำทะเลขึ้นสูงแม่เพรียงจะว่ายน้ำออกมาที่ผิวทะเลเพื่อผสมธุ์โดยตัวผู้และตัวเมียปล่อยเซลล์สืบพันธุ์จำนวนมากออกไปผสมกันในน้ำทะเลได้ตัวอ่อนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงค์ตอนชั่วคราวส่วนพ่อแม่พันธุ์มักถูกปลาทะเลจับกินเป็นอาหาร
ปูเปี้ยวก้ามขาว (Uca perplexa)
บริเวณชายหาดโคลนปนทราย ริมป่าชายเลน จะเป็นที่อยู่อาศัยของปูเปี้ยวหรือปูก้ามดาบ ซึ่งมีก้ามข้างหนึ่งขนาดใหญ่ใช้โบกพัดแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขตของตนตามปกติปูก้ามดาบจะขุดรู่และออกมาจากรูหาอาหารช่วงเวลาน้ำลง และฝังตัวอยู่ในรูเมื่อน้ำทะเลขึ้น
ปูแสมก้ามยาว (Metaplax elegan)

หนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปูก้ามดาบ โดยมีก้ามขนาดยาวใหญ่ ส่วนขาเดินเรียวเล็กขุดรูอาศัยอยู่ตามหาดโคลนริมแนวป่าชายเลนปะปนกับปูก้ามดาบกระดองมีความกว้างประมาณ1.5 เซนติเมตร ก้ามมีสีส้มแดง
สัตว์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในป่าชายเลนในบางช่วงระยะ 

                                      กุ้งทะเล  

           เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลนในบางช่วงชีวิต เพื่อหาอาหาร ผสมพันธุ์ และอนุบาลตัวอ่อน โดยเฉพาะกุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ และกุ้งตะกาด ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ กุ้งทะเลเหล่านี้ จะมีเพศแยกจากกัน การผสมพันธุ์เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเค็มสูง ตัวอ่อนระยะแรกคือ ระยะนอลเพลียส (Naulplius) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอีกหลายระยะ ระยะที่เป็นตัวอ่อน ที่มีรูปร่างเริ่มเรียวยาว ว่ายน้ำได้ดี จะเป็นระยะซูเอีย (Zoea) และระยะไมซิส (Mysis) ซึ่งเป็นระยะที่มีรูปร่างคล้ายตัวแก่แล้ว และท้ายที่สุดก็เปลี่ยนรูปร่างเป็นลูกกุ้งวัยรุ่น ซึ่งเป็นระยะที่ชอบอยู่ในน้ำที่มีความเค็มต่ำ ลูกกุ้งวัยรุ่นสามารถว่ายน้ำได้ดี จึงมีการอพยพเข้าหาฝั่งบริเวณป่าชายเลน เพื่อเข้ามาอยู่อาศัย และหากิน

     ปูทะเล 
            เป็นสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่าชายเลน และมีความสำคัญทาง  เศรษฐกิจ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน ดำรงชีวิตโดยการจับปูทะเล และเลี้ยงหรือขุนปูทะเล เพื่อขาย โดยทั่วไป ปูทะเลชอบอาศัยอยู่ตามพื้นโคลน หรือพื้นโคลนทรายในบริเวณป่าชายเลนปากแม่น้ำ โดยปูทะเลวัยอ่อนที่มีกระดองกว้างระหว่าง       ๒๐ - ๙๙ มิลลิเมตร จะอาศัยอยู่ในป่าชายเลน ทั้งในบริเวณชายฝั่งในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ปูทะเลวัยรุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะอพยพเข้ามาหาอาหารในป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในขณะที่น้ำขึ้นสูงสุด และกลับออกสู่บริเวณชายฝั่งในขณะที่น้ำลง ส่วนปูทะเลที่โตเต็มวัย จะสามารถเข้ามาหาอาหารในบริเวณต่างๆ ในป่าชายเลนได้
                                     แมงดาทะเล 
             เป็นสัตว์ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต  เพราะรูปร่างลักษณะของมัน มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมน้อยมาก นับตั้งแต่ถือกำเนิดมาบนโลกมากกว่า ๔๐๐ ล้านปีที่ผ่านมา แมงดาทะเลที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลของไทยมี ๒ ชนิด คือ แมงดาจานหรือแมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) และแมงดาถ้วยหรือแมงดาหางกลม (Carcinoscorpius rotundicauda) แมงดาทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง และการดำรงชีวิต ในช่วงน้ำขึ้น เราพบว่า แมงดาจานจะขึ้นมาวางไข่ที่หาดทราย ส่วนแมงดาถ้วยจะขึ้นมาวางไข่ในป่าชายเลน ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำขึ้นสูงสุดประมาณ ๑ เมตร แมงดาถ้วยจะขุดหลุมลึกจากผิวดิน ประมาณ ๓ - ๘ เซนติเมตร เพื่อวางไข่หลุมละประมาณ ๑๐๐ ๑๕๐ฟอง โดยจะวางไข่ในแต่ละครั้งเพียง ๑ - ๒ หลุมเท่านั้น แต่ใช้เวลานานนับเดือนในการฟักตัว (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๖ / เรื่องที่ ๘ สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน)

สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลนสัตว์ แบ่งออกได้เป็น  ๒ กลุ่ม

     กลุ่มที่ ๑  คือ  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอด  ชีวิตของมันตั้งแต่เป็นตัวอ่อนจนถึงตัวแก่  สัตว์กลุ่มนี้จัดว่าเป็นที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนอย่างถาวร  เช่น  ปูก้ามดาบ  ปูแสน  และปลาตีน


    กลุ่มที่ ๒  คือ  สัตว์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในป่าชายเลนบางช่วงชีวิตเพื่อใช้หลบภัยหรือที่พักพิงชั่วคราว  เราจะพบสัตว์เหล่านี้ในป่าชายเลนที่เป็นระยะตัวอ่อน  หรือตัวเจริญเต็มวัยในบางฤดูเท่านั้น  สัตว์กลุ่มนี้นับว่าเป็นสัตว์ที่อาศัยพึ่งพิงป่าชายเลน  ตัวอย่างเช่น  กุ้งทะเล  ปูทะเล  แมงดาทะเล  สัตว์กลุ่มหลังนี้รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน  และนกด้วย

การอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน

การอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน
              ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุหรือยาวนานหลายชั่วอายุ คุณสมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชิตชนิดอื่นที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายของระบบนิเวศ การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ถูกทำลายและมีการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด( MosJatupongสารานุกรมไทย๒๑ : online)  

               ป่าชายเลน  เป็นระบบนิเวศของป่าชายฝั่งที่ทนต่อสภาพความเค็มได้และเป็นที่บุกเบิกสิ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเล  และแหล่งอนุบาลสัตว์ป่า  การรักษาชายเลนที่มีอยู่ให้คงไว้ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร  และจะต้องช่วยกันหลายๆฝ่าย ลำพังกรมป่าไม้แต่เพียงหน่วยงานเดียวย่อมทำได้ยาก  การป้องกันอย่างจริงจังรวมทั้งการจัดการวางแผนการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลให้เหมาะสมจะเป็นทางหนึ่งที่จะรักษาพื้นที่ป่าชายเลนไว้ได้  การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนโดยการปลูกป่า  ปัจจุบันกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะขยายและสนับสนุนให้มีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น  ตามพื้นที่ว่าเปล่าบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งที่ผ่านการทำเหมืองแร่หรือพื้นที่นากุ้ง หรือนาข้าวที่เลิกไปแล้วซึ่งมีอยู่มากมายและมีโอกาสที่จะฟื้นฟูป่าชายเลนขึ้นมาได้  นอกจากนี้ตามชายฝั่งทะเลก็เป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพื้นที่ป่าชายเลนขึ้นมาได้  ( Clailen . ๒๕๕๖ : Online

บทนำ


 บทนำ 
       

         ในปัจจุบันป่าชายเลนได้ถูกทำลายด้วยกิจกรรมต่างๆอยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องหาแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้ได้ผลเต็มที่ตลอดไป  ( clailen .๒๕๕๖ : Online )  รายงานเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และศึกษาสัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน และเพื่อศึกษาถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลนจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน  ขอบเขตของการศึกษา  คือ  การอนุรักษ์สัตว์และพืชในระบบนิเวศป่าชายเลน, ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เริ่มต้นศึกษาโดยการสอบถามคนที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนและศึกษาทางอินเทอร์เน็ตในการศึกษาแบบนี้ช่วยให้ได้รู้วิธีการอนุรักษ์สัตว์และพืชในระบบนิเวศมากขึ้นเช่นกัน  การจัดเก็บข้อมูลมีการดำเนินการโดยการจดบันทึก  สมมติฐานของการศึกษาเพื่อให้รู้ถึงการอนุรักษ์สัตว์ในระบบป่าชายเลนในครั้งนี้ด้วย

สารบัญ

                                                             สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                       หน้า

บทนำ                                                                                                                         1

การอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน                                                                  2

สัตว์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในป่าชายเลนในบางช่วงระยะ                                                   3-4

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนตลอดชีวิต                                                                      5-8

พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน                                                                                      9

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าชายเลน                                                                     10

การแก้ไขปัญหาป่าชายเลนถูกทำลาย                                                                         11

บทสรุป                                                                                                                       12

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

คำนำ

                             คำนำ
      
        รายงานวิชาการเล่มนี้ข้าพเจ้าได้จัดทำเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลนซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัยของสัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลนและมีการแก้ไขปัญหาของผลกระทบของที่อยู่อาศัยของสัตว์  เป็นต้น

        ในการศึกษาค้นคว้ารายงานเชิงวิชาการชิ้นนี้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลมาจาก  Internet  และสารานุกรม และสัมภาษณ์มาจากบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จัดทำ

        ขอขอบคุณ  อาจารย์ ลาวัลย์    เอื้อศิริพรฤทธิ์   ที่สนับสนุนให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและข้อบกพร่องเกี่ยวกับรายงานเชิงวิชาการเล่มนี้  และจัดทำรายงานเชิงวิชาการเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาการอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน  หากรายงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด  ทางคณะต้องขออภัยไว้    ณ    ที่นี้ด้วย

                                                                     คณะผู้จัดทำ

                                                                   วันที่  ๒๑  มกราคม   ๒๕๕๖

รายงาน การอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๕


การอนุรักษ์สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน





สิรภพ     เพชรพันธ์   เลขที่ ๗   ชั้นม.๕/๕

วิภาภรณ์    มั่นคง     เลขที่  ๓๖  ชั้นม.๕/๕

อนัญญา  นนทโชติ    เลขที่  ๔๓  ชั้นม.๕/๕



รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาการสื่อสารและนำเสนอ

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๕

ภาคเรียนที่    ๒/๒๕๕๖

โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม